Get Adobe Flash player

ปลัด อบต.

PLa1

แบบสำรวจ

อบต.บริการเป็นอย่างไร

ดีมาก - 81.8%
ดี - 18.2%
พอใช้ - 0%
ควรปรับปรุง - 0%

Total votes: 11
The voting for this poll has ended on: 30 Oct 2015 - 08:42

เข้าสู่ระบบ

สถิติผู้เยี่ยมชม

2391717
วันนี้
เมื่อวาน
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวม
579
598
3458
2386069
9370
18524
2391717

Your IP: 18.188.40.207
Server Time: 2024-04-25 19:30:41

facebook

โรคมือเท้าปากเปื่อย

โรคมือเท้าปากเปื่อย

โรคมือเท้าปากเปื่อยเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก ทำให้มีอาการไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว จัดเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย

 

สาเหตุของโรคมือเท้าปากเปื่อย

โรคมือเท้าปากเปื่อยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย เช่น คอกซากีไวรัส เอ16 (coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71) กลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อยคือ เด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต สำหรับผู้ใหญ่พบโรคนี้ได้บ้าง

 

การติดต่อของโรคมือเท้าปากเปื่อย

โรคมือเท้าปากเปื่อยสามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูก ลำคอ น้ำลาย และน้ำจากตุ่มใส รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้ออยู่ และสามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสของเล่น พื้นผิวสัมผัสที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ อาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ มือของผู้เลี้ยงดู โดยสถานที่ที่มักพบการระบาดของโรค ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล และช่วงที่มักมีการระบาดของโรคนี้คือ ช่วงฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว อย่างไรก็ดี โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่สัตว์หรือสัตว์สู่คน

 

ทั้งนี้ โรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้อีก เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งๆ อาจไม่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ได้ แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มย่อยของเชื้อไวรัสเดียวกัน

 

อาการและภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปากเปื่อย

อาการเริ่มต้นของโรคมือเท้าปากเปื่อยจะคล้ายไข้หวัด คือ มีไข้ประมาณ 2-4 วัน และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากนั้นจะมีผื่นแดงอักเสบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ต่อมาเกิดผื่นแดงที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ในบางรายอาจพบที่ก้นด้วย โดยผื่นที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสและแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ โดยส่วนใหญ่หากไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นอาการมักหายได้เองภายใน 7-10 วัน

 

อย่างไรก็ตาม โรคมือเท้าปากเปื่อยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไปจนถึงเสียชีวิตได้ โดยอาการแทรกซ้อนไม่สัมพันธ์กับจำนวนแผลในปากหรือตุ่มที่พบตามฝ่ามือฝ่าเท้า ในรายที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงอาจมีแผลไม่กี่จุดในลำคอหรืออาจมีตุ่มเพียงไม่กี่ตุ่มตามฝ่ามือฝ่าเท้าก็ได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก แม้จะดูว่าผื่นและแผลในปากหายไปแล้วก็ตาม โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที เช่น

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม

  • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว

  • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ

  • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน

  • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง

  • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

 

การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค

แพทย์จะทำการวินิจฉัยแยกโรคตามอาการ โดยผู้ป่วยที่มีผื่นที่มือ อาจต้องแยกออกจากโรคผื่นแพ้ โรคอีสุกอีใส ผื่นจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ สำหรับโรคมือเท้าปากเปื่อย โดยทั่วไปแพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากอาการและอาการแสดง แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง แพทย์อาจทำการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยัน ซึ่งการตรวจเพิ่มเติมนี้ไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกราย ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ได้แก่

  • การส่งตรวจตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งและ/หรืออุจจาระเพื่อหาเชื้อไวรัส (ใช้เวลาประมาณ 1-7 วัน ขึ้นกับวิธีการตรวจ)

    • การตรวจหายีนของไวรัสด้วยวิธี polymerase chain reaction (PCR)
    • การเพาะเชื้อไวรัส (virus culture)

 

การรักษาโรคมือเท้าปากเปื่อย

นื่องจากในปัจจุบันโรคมือเท้าปากเปื่อยยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามแต่อาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอมาก รับประทานอะไรไม่ได้ ผู้ป่วยดูเพลียจากการขาดอาหารและน้ำ ก็จะให้พยายามป้อนน้ำ นมและอาหารอ่อน ในรายที่เพลียมากอาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด และ/หรือหยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจ เป็นต้น

 

การป้องกันโรคมือเท้าปากเปื่อย

เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือเท้าปากเปื่อย สิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลรักษาสุขอนามัยที่ดี โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันโรคมือเท้าปากเปื่อย รวมถึงป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้โดย

  • หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย

  • รักษาอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็กเล็กควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด

  • ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ขวดนม

  • เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว

  • รีบซักผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระให้สะอาดโดยเร็ว และทิ้งน้ำลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ

  • หากเด็กมีอาการของโรคมือเท้าปากเปื่อยให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมือเท้าปากเปื่อย ต้องให้เด็กหยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหาย

 

ในกรณีที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปากเปื่อยชนิดที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะมีการเสียชีวิต เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น เช่น

  • การปิดทั้งโรงเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ

  • การคัดแยกเด็กป่วยออกตั้งแต่เดินเข้าที่หน้าประตูโรงเรียน

  • การหมั่นล้างมือ เช็ดถูทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่างๆ

 

สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับลูกที่สุด จะต้องหมั่นสังเกตอาการ หากลูกมีอาการป่วยที่ผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที


แหล่งข้อมูล https://www.bumrungrad.com/th/children-pediatric-health-care-surgery-center-bangkok-thailand/conditions/hand-foot-mouth

กิจกรรมเด่น

IMAGE การขับเคลื่อนจริยธรรม
Wednesday, 03 April 2024
 เมื่อวันที่ 4 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567... Read More...
IMAGE RE-X-RAY
Tuesday, 27 February 2024
                           ... Read More...
IMAGE กิจกรรมเสริมสร้างค่านิยมต่อต้านการทุจริต
Monday, 24 April 2023
  เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566... Read More...
IMAGE กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
Wednesday, 19 April 2023
รายงานผลการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน... Read More...
IMAGE การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy
Thursday, 09 March 2023
เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗... Read More...

ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง อบต.

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลการประกวดราคาของเทศบาลอุดมธรรม
Wednesday, 04 January 2023
ประชาสัมพันธ์ประกาศเทศบาลอุดมธรรม เรื่อง... Read More...
ประชาสัมพันธ์ ประกาศเทศบาลอุดมธรรม
Tuesday, 15 November 2022
  ประชาสัมพันธ์ เรื่อง... Read More...
ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
Monday, 10 October 2022
ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ... Read More...
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน ๗ โครงการ
Thursday, 21 October 2021
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน ๗... Read More...
ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำไตรมาสที่ 1 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562)
Tuesday, 11 February 2020
ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำไตรมาส ที่ 1... Read More...
แผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
Wednesday, 16 September 2015
1.แผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี พ.ศ.๒๕๕๗... Read More...
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
Wednesday, 16 September 2015
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี... Read More...

นายก

DUM1

ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสาร

มุมผู้สูงอายุ